Aller au contenu principal

พิพิธภัณฑ์การบินเพิร์ลฮาร์เบอร์


พิพิธภัณฑ์การบินเพิร์ลฮาร์เบอร์


พิพิธภัณฑ์การบินเพิร์ลฮาร์เบอร์ (เดิมชื่อ พิพิธภัณฑ์การบินแปซิฟิกเพิร์ลฮาร์เบอร์) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1999 เพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑ์การบินใน รัฐฮาวาย เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ของวุฒิสมาชิก แดเนียล อินุย เพื่อการบูรณะ เกาะฟอร์ด พิพิธภัณฑ์จัดแสดงนิทรรศการทางการบินที่หลากหลายโดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ และ สงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนแรกของพิพิธภัณฑ์ โรงเก็บเครื่องบิน 37 เปิดพร้อมกับพิพิธภัณฑ์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2006 และจัดแสดงนิทรรศการแบบคงที่ของพิพิธภัณฑ์ โรงเก็บเครื่องบินของพิพิธภัณฑ์แสดงถึงความเสียหายจากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941

พิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับการอนุรักษ์ หนึ่งในการทัศนศึกษารอบเกาะฮาวาย โดยโฟกัสสำคัญในการพยายามที่จะปฏิสังขรณ์หอบังคับการ Ford Island และเซ็นต์สัญญาในการเช่าพื้นที่จากกองทัพเรื่อในการเริ่มขึ้นการซ่อมแซม ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์สามารถเข้าชมโดย รถท่องเที่ยวจากพื้นที่ประวัติศาสตร์เพิร์ลฮาร์เบอร์ บนลานบินHalawa หรือใช้บัตรประจำตัวกองทัพสหรัฐจากประตู Admiral Clarey bridge พิพิธภัณฑ์ได้รับจากความพยายามในการอนุรักษ์อาคารทางประวัติศาสตร์ และยังติดอันดับ 10 พิพิธภัณฑ์ทางการบินจาก TripAdvisor

ประวัติศาสตร์

ในปี ค.ศ. 1983 พิพิธภัณฑ์อากาศยานแปซิฟิก สร้างขึ้นภายในสนามบินนานาชาติฮอนาลูลู หลังจากการกดดันจากหอการค้าฮาวาย เพื่อให้สร้างพิพิธภัณฑ์การบินในฮาวาย ให้สำเร็จ ในเฟสแรกของการเปิดพิพิธภัณฑ์ใน ค.ศ. 1991 โดย Frank Der Yuen. ภายใต้ความคิดที่การเปิดพิพิธภัณฑ์การบินแปซิฟิกเพื่อฉลองการครบรอบชัยชนะเหนือญี่ปุ่น ในค.ศ.1995 หลังจากเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พิพิธภัณฑ์อากาศยานแปซิฟิกถูกระงับการปิดให้บริการโดยรัฐและถูกเคลื่อนย้ายไปในสองปีต่อมา บางส่วนของส่วนจัดแสดงนำกลับมาโดยมูลนิธิพิพิธภัณฑ์การบินแปซิฟิก ซึ่งรับผิดชอบในรายการด้านการศึกษาและทุนการศึกษาอีกด้วย

ก่อนการเสร็จสมบูรณ์ของ สะพานAdmiral Clarey Bridge ในปี ค.ศ.1998 การเข้าสู่เกาะฟอร์ด ทั้งผู้ที่อาศัยและนักท่องเที่ยวต้องเข้าผ่านทางเรือเฟอร์รี่เท่านั้น วุฒิสมาชิก Inouye เสนอให้มี "การฟื้นคืนชีพ" เกาะฟอร์ดโดยใช้งบประมาณ $500,000,000 ดอลล่าส์ผ่านทางกฎหมายพิเศษ 2814 U. S. Code เพื่อให้สิทธิแก่กองทัพเรือในการขายที่ดินเพื่อเป็นกองทุนในการฟื้นฟู ในพื้นที่ประกอบด้วยบ้านพักอาศัยใหม่ของบุคลากรของกองทัพเรือจำนวน 500 หลัง ศูนย์พัฒนาเด็กแห่งใหม่ เรื่องรับรองกองทัพเรือใหม่ และ พิพิธภัณฑ์การบินเพิร์ล ฮาร์เบอร์ แต่เดิมพิพิธภัณฑ์ถูกเรียกว่า พิพิธภัณฑ์การบินกองทัพแห่งมหาสมุทรแปซิฟิก มูลนิธิระดมทุนเพิ่มขึ้นจากเป้าหมายเดิม $46 million จากหลายแหล่ง ทั้งจาก US รัฐแห่งฮาวาย รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา และงานราตรีระดมทุนต่างๆ ทั้งได้รับการสนับสนุนจาก US นักบินอวกาศกัปตัน Walter Schirra. ในขณะที่เป็นผู้บริหารของSan Diego Air & Space Museum, อลัน ปาล์มเมอร์ถูกจ้างโดยกองทัพอากาศสหรัฐ ให้เข้ามาศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์การบิน และหลังจากนั้นถูกแต่งตั้งให้เป็นประธานบริหารของพิพิธภัณฑ์ในเวลาต่อมา

การวางศิลาฤกษ์ถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2006 ด้วยเงินทุนการก่อสร้าง $75,000,000 ดอลลาร์ในการก่อวร้างพิพิธภัณฑ์ และเปิดตัวในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ซึ่งเป็นวันที่ครบรอบ 65 ปี ของการโจมตีท่าเรื่องเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ประธานพิธีการในวันนั้นคือ ประธานาธิบดีสหรัฐGeorge H.W. Bush, นายพลจัตวากองทัพบก Chuck Yeager, Brigadier General Paul Tibbets. พิพิธภัณฑ์จัดแสดง โรงจอด Hangars 37, 54, และ 79 บน เกาะฟอร์ด กินเนื้อที่ครอบคลุม 16 เอเคอร์ ในปี ค.ศ. 2012, พิพิธภัณฑ์การบินแปซิฟิกเพิร์ลฮาร์เบอร์ ถูกตั้งชื่อว่าสถาบันSmithsonian Institution ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม องค์กรSmithsonian Affiliations ในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2013 พิพิธภัณฑ์ได้รับนักท่องเที่ยวครบ 1 ล้านคน

สิ่งอำนวยความสะดวก

เนื่องจากเป็นสถานที่ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นพื้นที่แรกที่มีการแจ้งเตือนทางวิทยุของ โจมตีท่าเรือเพิร์ล ฮาร์เบอร์attack on Pearl Harbor พิพิธภัณฑ์วางแผนในการใช้งบ $7,500,000 ดอลลาร์ ในการซ่อมแซมหอบังคับการบนเกาะฟอร์ด ซึ่งถูกลงทะเบียนเป็นสิ่งก่อสร้างประเภท 1 แผนอนุรักษ์ฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ใน ค.ศ. 1978 และภายใต้การซ่อมแซมของบริษัท Kiewit Building Group ซึ่งเซ็นต์สัญญารับผิดชอบการสร้างอาคารของพิพิธภัณฑ์ด้วยเช่นกัน หอบังคับการอายุ 70 ปีและสูง 158 ฟุต (48 เมตร) ซึ่งทรุดโทรมจากบันไดเหล็กและลานจอดเครื่องบินที่ขึ้นสนิมซึ่งต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ หลังจากความเห็นชอบจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐเพื่อเก็บรักษาและคงเหลือสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ไว้จึงได้มอบทุนแก่พิพิธภัณฑ์จำนวน$3,800,000 ดอลลาร์เพื่อเป็นทุนในขั้นต้นในการเริ่มโครงการ หอบังคับการรวมถึงทางวิ่งเครื่องบินได้รับเลือกให้เป็นโบราณสถานแห่งชาติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 ในปี 2010 จากข้อมูลของสภาคองเกส ว่ากระทรวงกลาโหมได้บริจาคเงินเกือบ$449,000 ดอลลาร์เพื่อเพิ่มเงินทุนในการอนุรักษ์หอคอยดังกล่าว โดยมีเสนอมติโดยวุฒิสมาชิกInouye และทำให้มีผู้เห็นชอบมากมายร่วมบริจาค หอบังคับการยังเป็นสถานที่ประกอบในภาพยนตร์เรื่องTora! Tora! Tora! และPearl Harbor.

โรงจอด Hangar 37เป็นโรงจอดเครื่องบินน้ำ ซึ่งเป็นหนึ่งที่เหลือรอดจากการโจมตีท่าเรื่อเพิร์ล ฮาร์เบอร์ และเป็นโรงจอดแรกที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นพิพิธภัณฑ์ พื้นที่ 7.25 เอเคอร์ (2.93 เฮกเตอร์) ประกอบไปด้วย 9 ส่วนจัดแสดง, 1โรงภาพยนตร์, เครื่องบังคับการจำลองการบิน, 1ร้านที่ระลึกและภัตราคาร งบประมาณนการปรับปรุงพื้นที่เป็นเงินถึง $11,000,000 ดอลลาร์และได้เพิ่มขึ้นจากรัฐบาลสนับสนุนและ ผ่านทางการบริจาคจากหน่วยงานในชุมชน ก่อสร้างเมื่อปี1939 และโรงจอด Hangar 79,พื้นที่ 87,000 ตารางฟุด (8,100ตารางเมตร) ได้รับการบูรณะให้คงเป็นโรงจอดแต่ประกอบด้วยส่วนจัดแสดงมากมายและรวมถึง ส่วนจัดแสดง เครื่องบินflying tigers ส่วนจัดแสดง เครื่องบินMiG Alley เฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินและอากาศยานที่ใช้ทางราชการ ห้องกระจกในโรงจอดยังคงจัดแสดงหลุมระเบิดจากเครื่องบินญี่ปุ่นจากการโจมตีในวันนั้น มูลนิธิTawani Foundation บริจาค $82,500 ดอลลาร์ในการปรับปรุงโรงจอด Hangar 79.

การจัดแสดง

ในปี ประธานผู้บริหารของพิพิธภัณฑ์ McDonalds Fred L. Turner สนันสนุนให้บูรณะเครื่องบิน Douglas SBD Dauntless. และจัดแสดงเครื่องบิน Boeing N2S-3 Stearman ที่ประธานาธิบดี George H.W. Bush ใช้ในการฝึกบินและใช้ในการบินเดี่ยวครั้งแรกไว้ในส่วนจัดแสดง

ซากเครื่องบิน Japanese A6M2 Zero "B11-120" ซึ่งบินโดยพลทหารอากาศ Shigenori Nishikaichi ซึ่งบินจาก เรือบรรทุกเครื่องบินHiryu ซึ่ง บินตกที่เกาะ Ni'ihau หลังจากการโจมตีระรอกที่สองของการโจมตีท่าเรือเพิร์ลฮาร์เบอร ยังคงเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีการแสดงซากเดิมหลังการตก ยังคงเหลือรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการขุดคูดินโดยรอบที่ใช้ป้องกันการลงจอด คูดินนี้ถูกขุดขึ้นหลังจากที่เกาะได้รับการแจ้งเตือนว่าญี่ปุ่นมีแผนจะใช้เกาะเป็นฐานปฏิบัติการ

เครื่องบินญี่ปุ่น A6M2-21 Zero ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับเครื่องบินที่ใช้ในการโจมตีท่าเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ที่ถูกกู้ขึ้นมาในปี1968 และเก็บรักษาใช้สามารถใช้บินได้จริง ในปี 1985. แต่เดิมมันบินจากกลุ่มเครื่องบินญี่ปุ่น 201 จากหมู่เกาะโซโลมอน และขายให้กับ Confederate Air Force เพื่อใช้แสดงทางการบินและต่อมาก็ขายให้กับทางพิพิธภัณฑ์ในปี 2006

ในวันที่ 11 เมษายน2013 ซากเครื่องบินทิ้งระเบิด B-17 bomber มาถึงพิพิธภัณฑ์การบินแปซิซิกเพิร์ลฮาร์เบอร์ซึ่งเป็นเวลาเกือบ70 ปีหลังจากรอดจากการโจมตีท่าเรือเพิร์ล ฮาร์เบอร์ การเก็บรักษาคาดว่าต้องใช้เงินประมาณ $5,000,000 ดอลลาร์ เครื่องบินถูกเรียกว่า"Swamp Ghost", ซึ่งคาดการณ์ว่าบินจากHickam Field ในวันที่ 7 ธันวาคม1941 แต่ล่าช้าไปเนื่องจากเครื่องยนต์ขัดข้องถึงสองครั้ง จึงรอดจากการโจมตีดังกล่าว หลังจากนั้นมันได้ใช้ในการทิ้งระเบิดที่ราบวลในวันที่ 22 กุมภาพันธ์1942 โดยหลังการทิ้งระเบิดเครื่องบินถูกโจมตีโดยเครื่องบินจู่โจมญี่ปุ่น 9 ลำแต่สามารถบินกลับฐานได้ ทั้งที่ใบพัดไม่หมุนและตกลงในหนองน้ำ ยาวนานถึง 64 ปี ชื่อเล่นนี้เองจึงถูกนำไปใช้ เครื่องช่วยนำทาง มันถูกค้นพบโดย National Geographic ในปี 1992 และความพยายามหลายครั้งในการกู้ซากแต่ไม่ประสบความสำเร็จจนกระทั่งปี 2006 และกลับมายังสหรัฐอเมริกา ในปี 2010. และมันถูกซื้อคืนมาโดยพิพิธภัณฑ์ในปี 2011ซึ่งเป็นแยกส่วนมาทั้งหมด 7 ชิ้นและปัจจุบันยังคงอยู่ภายนอกโรงจอด Hangar 79.

ในเดือนมิถุนายน 2012 พิพิธภัณฑ์จัดสร้างภาพสามมิติสูง 10-ฟุต (3.0-เมตร) กว้าง 40 ฟุตเป็นภาพ ยุทธนาวีมิดเวย์. ซึ่งสั่งการโดยประธานผู้บริหาร Turner ซึ่งใช้งบ $400,000 ดอลลาร์ในใช้เวลาถึ3 3 ปีในการก่อสร้างและเสร็จสมบูรณ์โดยนาวิกโยธินสหรัฐ Karl Lau.

Collection

East, Wind, Rain

ในปี ค.ศ.2008 Hawaii Pacific University ได้มีการพัฒนาภาพยนตร์สารคดีความยาว 12 นาทีในชื่อ East, Wind, Rain ที่ใช้แทนภาพยนตร์ชุดเก่าเพื่อฉายให้แก่ผู้เข้าชมพิพธภัณฑ์ ภาพยนตร์อธิบายถึงการโจมตีท่าเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ อันน่าประหลาดใจให้กับผู้ชมและ ยังชนะรางวัลปี 2010 Pixie Gold Award จากสมาคม American Pixel Academy.

ปฏิสัมพันธ์กับชุมชน

ความขัดแย้ง

ในปี 2013 กองทัพเรือมีความกังวลใจในการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของนักท่องเที่ยวจีน1,500 คน จากAmway China ที่เดินทางท่องเที่ยวในเกาะฟอร์ดที่สนใจการจัดแสดงเครื่องบินFlying Tigers เนื่องจากเกาะฟอร์ดยังเป็นฐานทัพที่ยัประจำการอยู่ ด้วยความกังวลใจนี้ จึงทำให้กองทัพเรือสร้างกำแพงสูงถึง6-ฟุต (1.8-เมตร) ☃☃☃ เพื่อปิดกั้นฐานทัพเอ

ในเดือนมีนาคม 2013 บริการขายตั๋วออนไลน์ถูกแฮกค์ข้อมูล แต่ทางบริษัทผู้ให้บริการของพิพิธภัณฑ์เชื่อว่าไม่มีข้อมูลของลูกค้าที่ถูกแฮกค์ไป

ในเดือนมิถุนายน 2013 พิพิธภัณฑ์ขัดแย้งกับกองทัพเรือสหรัฐ เนื่องจากกองทัพมีแผนที่จะติดตั้งอุปกรณ์รับแสงอาทิตย์ จำนวน 60,000 ชิ้นซึ่งใช้พื้นที่มากกว่า 28 เอเคอร์ ของลานบินบนเกาะฟอร์ด กองทัพเรือส่งเรื่องให้ทางสภาคองเกรสและกระทรวงกลาโหม อนุมัติด้วยสาเหตของการลดพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงของผู้ที่อาศัยบนเกาะฮาวาย ซึ่งแพงที่สุดในสหรัฐอเมริกา แผนการดังกล่าวถูกชี้ประเด็นในการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวบนลานบินประวัติศษสตร์นี้จะทำให้สามารถผลิตพลังงานไฟได้ถึง 2 ครั้งต่อวัน กองทัพเสนอเงิน $250,000 ดอลลาร์ให้กับพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นทุนในการปรับปรุงลิฟท์ในหอบังคับเพื่อแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนแผนการที่ทางพิพิธภัณฑ์คัดค้านก่อนหน้านี้ มีการออกการรณรงค์ทางเว็บไซต์เพื่อต่อต้านแผนการคิดตั้งอุปกรณ์ในสถานที่สำคัญดังกล่าว ดังนั้นทางกองทัพเรือจึงตัดสินใจที่จะติดต่อตั้งอุปกรณ์กล่าวในสถานที่โดยรอบท่าเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์แทน

การมีส่วนรวมกับชุมชน

ในปี ค.ศ. 2008 พิพิธภัณฑ์ได้รับความเห็นชอบจาก BAE Systems ในการจัดหาทุนในโปรแกรม Barnstorming เพื่อ สร้างอุโมงค์ลมและเครื่องบินจำลองเพื่อให้ความรู้ในเรื่องความรู้ด้านบรรยากาศแก่นักเรียนในเกรด 6 โรงเรียนในท้องถิ่น ในปี ค.ศ. 2012 โปรแกรม Barnstorming ได้สอนให้แก่นักเรียนมากกว่า 3,500 คนใน 40 โรงเรียน

ในปี ค.ศ. 2013 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้รางวัล "Museums Connect" แก่พิพิธภัณฑ์ สำหรับการมีส่วนร่วมในโปรแกรม "Past to Present: U.S. -Sino Bridge of Connections" program. โปรแกรมยังจัดให้นักเรียนจากโรงเรียน Kaiser High School ได้ส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับนักเรียนจากเมืองเฉิงตู, ประเทศจีน อีกด้วย และจัดการวิจัยในเรื่องความสัมพันธ์อเมริกา-จีนเมื่อปีประมาณ1940

การท่องเที่ยว

ในระหว่างปัญหาการระงับใช้งบประมาณปี 2013 ในสหรัฐ ทางพิพิธภัณฑ์การบินแปซิฟิกเพิร์ลฮาร์เบอร์ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวมากขึ้น เนื่องจากการจำกัดจำนวนเที่ยวเรือเฟอร์รี่ ที่จะเดินทางไป อนุสรณ์สถานUSS Arizona ซึ่งดำเนินการโดยกองทัพเรื่อสหรัฐ เนื่องจสกเกาฟอร์ดยังเป็นส่วนหนึ่งของกองที่ทำการกองทัพJoint Base Pearl Harbor-Hickam ที่ยังทำการอยู่ นักท่องเที่ยวจึงต้องผ่าน กองบริการอุทยานแห่งชาติ ท่าเรื่อHalawa ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่ออุทยานประวัติศาสตร์เพิร์ล ฮาร์เบอร์ โดยต้องซื้อบัตรเข้าชมแล้วจึงเดินทางโดยรถบัสท่องเที่ยวไปยังพิพิธภัณฑ์และเรื่อ USS Missouri ได้

การยอมรับและรางวัลต่างๆ

พิพิธภัณฑ์การบินแปซิฟิกเพิร์ล ฮาร์เบอร์ติดอันดับ 8 สุดยอดสถานที่การบินดึงดูดใจที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยTripAdvisor. ในปี ค.ศ.2007 พิพิธภัณฑ์ได้รับรางวัลการอนุรักษ์จากมูลนิธิประวัติศาสตร์ฮาวาย จาก"โครงการพิเศษในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูอาคาร วัตถุ สถานที่ หรือบริเวณทางประวัติศาสตร์" ในการพัฒนาพื้นที่ Hangar 37

ดูเพิ่ม

  • Onizuka Space Center
  • List of aerospace museums
  • List of museums in Hawaii

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • เว็บไซต์ทางการ
  • Pearl Harbor Historic Sites
  • Pearl Harbor Historic Sites on Recreation.gov
  • พิพิธภัณฑ์การบินเพิร์ลฮาร์เบอร์ ที่เฟซบุ๊ก

Text submitted to CC-BY-SA license. Source: พิพิธภัณฑ์การบินเพิร์ลฮาร์เบอร์ by Wikipedia (Historical)


Langue des articles



INVESTIGATION

Quelques articles à proximité