Aller au contenu principal

รายชื่อผู้บัญชาการทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง


รายชื่อผู้บัญชาการทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง


ฝ่ายสัมพันธมิตร

สหรัฐ

สหราชอาณาจักร

  • เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) (30 พฤศจิกายน 2417 - 24 มกราคม 2508) นายกรัฐมนตรีอังกฤษ โดยเขาได้ให้คนอังกฤษทั้งประเทศยืนหยัดต่อสู้กับเยอรมนี จนเขาสามารถทำให้อังกฤษชนะสงครามโลกครั้งนี้ได้ในที่สุด
  • จอมพล เบอร์นาต มอนต์โกเมอรี่ (Bernard Law Montgomery) (17 พฤศจิกายน 2430 - 24 มีนาคม 2519) มอนต์โกเมอรี่เกิดที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขารับราชการทหารตั้งแต่ปี 2451 ขณะมีอายุ 21 ปี และทำงานในกองทัพนานถึง 50 ปี เขาเป็นผู้บัญชาการทหารของอังกฤษ และเป็นผู้บังคับบัญชาการที่บัญชาการรบที่ทำให้ทหารพันธมิตรได้ชัยชนะในหลายสมรภูมิเช่น ยุทธการเอล-อาลาเมน การรบในตูนิเซีย การยกพลที่เกาะชิชิลี การยกพลที่แผ่นดินใหญ่ของอิตาลี การยกพลที่นอร์ม็องดีของฝรั่งเศส และการบุกข้ามแม่น้ำไรน์ของเยอรมนี มอนต์โกเมอรี่ได้ถึงแก่กรรมขณะมีอายุ 88 ปี
  • จอมพล ฮาโรลด์ อเล็กซานเดอร์ (Harold Alexander) (10 ธันวาคม 2434 - 16 มิถุนายน 2512) จากแคนาดา
  • หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า
  • นาย อลัน บรู๊ก
  • จอมพล อาชิบาลด์ วาเวลล์
  • นาย จอห์น เวเกอร์
  • เซอร์เคลาด์ ออเชนเลก
  • นาย ชาร์ลี พอเทอ
  • เซอร์อาร์เธอร์ แฮร์ริส
  • นาย ฮิวจ์ โดว์ดิง
  • นาย แอนดรูว์ คันนิงแฮม
  • นาย ดูลลี่ ปอน

สหภาพโซเวียต

  • จอมทัพ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) (18 ธันวาคม 2421 - 5 มีนาคม 2496) โจเซฟ สตาลิน เกิดที่เมือง Gori สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตทันทีที่ ื้ ซึ่งเขาได้ครอบครองอำนาจเหนือสหภาพโซเวียตยาวนานเกือบ 30 ปี ในสมัยที่สตาลินดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต ได้มีการสังหารพลเรือนไปมากถึง 20 ล้านคน และในปี พ.ศ. 2476 มีชาวยูเครนเสียชีวิตถึง 7 ล้านคน ซึ่งชาวยูเครนส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการขาดแคลนอาหาร และสตาลินยังเป็นผู้ที่ทำให้สหภาพโซเวียตมีชัยชนะเหนือนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งนี้อีกด้วยและเขาถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2496 ขณะมีอายุ 74 ปี เขาถึงแก่กรรมเนื่องจากทะเลาะกับ นิกิตา ครุสซอฟ อย่างรุนแรง ซึ่งครุสซอฟ ได้เป็นผู้นำสหภาพโซเวียตต่อจากสตาลิน โดยครุสซอฟได้มีการเปิดเผยรายละเอียดและสิ่งที่สตาลินเคยทำเอาไว้กับสหภาพโซเวียตในอดีต และได้สั่งทำลายรูปปั้นของเขาลง
  • นายพล เกออร์กี จูคอฟ (Georgy Konstantinovich Zhukov) (1 ธันวาคม 2439 - 18 มิถุนายน 2517) เขาทำงานในกองทัพตั้งแต่ปี 2458 จนถึงปี 2500 เขาเป็นผู้บัญชาการของกองทัพแดงในการโต้ตอบกองทัพนาซีเยอรมันในยุทธการที่สตาลินกราด และเขายังสามารถทำให้กองทัพโซเวียตได้ชัยชนะในยุทธการเคิร์สและเขายังทำให้กองทัพโซเวียตสามารถยึดครองกรุงเบอร์ลิน นครหลวงของเยอรมนีได้
  • นายพล คอนสตันติน โรคอสซอฟสกี (Konstantin Rokossovsky) (21 ธันวาคม 2439 - 3 สิงหาคม 2511) เขาทำงานในกองทัพจักรวรรดิรัสเซียในปี 2457- 2460 ในกองทัพสหภาพโซเวียต 2460-2492 เป็นผู้บัญชาการกองทัพโปแลนด์ 2492-2499 และกลับมาสหภาพโซเวียตอีกครั้งหนึ่งในปี 2499-2511 เขาเป็นนายพลที่รับใช้กองทัพโซเวียตจนกระทั่งเสียชีวิตในปี 2511 ด้วยอายุ 71 ปี
  • นายพล อะเลคซันดร์ วาซีเลฟสกี (Aleksandr Mikhaylovich Vasilevsky) (30 กันยายน 2438 - 5 ธันวาคม 2520) เขาทำงานให้กับกองทัพจักรวรรดิรัสเซียในปี 2458- 2460 กองทัพของสหภาพโซเวียต 2460-2502 โดยเขาได้ทำการวางแผนการรบร่วมกับ นายพลกอร์กี้ ชูคอฟ ในการตอบโต้กองทัพเยอรมนีและเขาได้ออกจากองทัพในปี พ.ศ. 2502
  • นายพล วาซีลี ชุยคอฟ (Vasily Ivanovich Chuikov) (12 กุมภาพันธ์ 2443 - 18 มีนาคม 2525) เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติในรัสเซียเมื่อปี 2460 และเขาเป็นผู้ที่ทำให้กองทัพโซเวียตได้ชัยชนะในการรบที่ยุทธการสตาลินกราด
  • นายพล อีวาน โคเนฟ (28 ธันวาคม 2440 - 21 พฤษภาคม 2516) เขาเป็นผู้บัญชาการกองทัพแดงของโซเวียตและยังเป็นคนที่อยู่เบื้องหลังของการปราบปรามการก่อกบฏในฮังการีในปี พ.ศ. 2499
  • นายพล เลโอนิต โกโวลอฟ (22 กุมภาพันธ์ 2440 - 19 มีนาคม 2498) เขาทำงานให้กับกองทัพแดงเมื่อปี พ.ศ. 2463 โดยเขาได้เป็นผู้บัญชาการกองทัพแดงในการต้านกับกองทัพเยอรมนีที่กรุงเลนินกราด ซึ่งกรุงเลนินกราดได้ถูกกองทัพฝ่ายอักษะล้อมไว้นานกว่า 900 วัน ก็ยังไม่สามารถที่จะตีแตกได้
  • นายพล เซมิออน ตีโมเชนโค (Semyon Konstantinovich Timoshenko) (18 กุมภาพันธ์ 2438 - 31 มีนาคม 2513)
  • นายพล นีโคไล บุลกานิน (Nikolai Fyodorovich Vatutin) (16 ธันวาคม 2444 - 14 เมษายน 2487)
  • นายพล วาซีลี โซโคลอฟสกี (Vasily Danilovich Sokolovsky) (21 กรกฎาคม 2440 - 10 พฤษภาคม 2511)
  • นายพล คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ (4 กุมภาพันธ์ 2424 - 2 ธันวาคม 2512)
  • นายพล ดมิลีร์ ลีไลยูเชนโก
  • นายพล อเล็กสกี้ แอนโทนอฟ
  • นายพล อิวาน เฟดยุนนินสกี้
  • นายพล วาเลเรียน โฟรลอฟ
  • นายพล วาซิลลี่ กอร์ดอฟ
  • นายพล มิคาอิล คีร์โพนอส
  • นายพล พาเวล ไลบัลโก
  • นายพลเรือ นิโคเลย์ คูเนสซอฟ (Nikolay Gerasimovich Kuznetsov) (24 กรกฎาคม 2447 - 6 ธันวาคม 2517) เริ่มเขาทำงานในกองทัพเรือโซเวียตเมือปี พ.ศ. 2463-2499 ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพเรือโซเวียตในปี พ.ศ. 2484 ในการปฏิบัติการต่อสู้กับกองทัพนาซีเยอรมัน ร่วมกันกับ นายพล กอร์กี้ ชูคอฟ และ นายพล เซมโยน ทิโมเชนโก
  • พลเรือเอก อิวาน ยูมาเชฟ (Ivan Stepanovich Yumashev) (9 ตุลาคม 2438 - 2 กันยายน 2515)
  • พลเรือเอก วลาดิเมียร์ ตริบุคต์ (Vladimir Filippovich Tributs) (28 กรกฎาคม 2443 - 30 สิงหาคม 2520)

ฝรั่งเศส

  • พลจัตวา ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ ผู้นำของฝรั่งเศส เขาได้ถูกนายเรโนด์ นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสในสมัยนั้น ส่งไปราชการทหารที่ลอนดอนในวันที่ 5 มิถุนายน 2483 พอหลังจากฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้ต่อกองทัพนาซีแล้ว เขาได้ประกาศให้ชาวฝรั่งเศสทำการต่อสู้กับผู้รุกรานต่อไป และหลังสงครามสงบลง เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศส
  • พลเอก ฌ็อง เดอ ลัทร์ เดอ ตาซีญี
  • นายอัลฟงซ์ จูน
  • นายมอริซ กาเมแลง
  • นายแมกซิม เวแกน
  • นายฟรานโก ดาลัน
  • นายเฮนรี่ จีโฮค์
  • นายฟิลิปเป้ เลอแคร์ เดอ ฮัวเตอร์เลอคัว
  • นายมาเรีย-ปีแยร์ โคนิก
  • นายจอร์จ คาทรูซ์

สาธารณรัฐจีน

  • จอมพล เจียง ไคเช็ก (Chiang Kai-shek) ผู้นำของสาธารณรัฐจีน
  • นายเหมา เจ๋อตง (Mao Zedong) ประธานพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
  • นายจาง เซวเหลียง
  • นายหยาน สีซาน
  • นายเฉิน เฉิง
  • นายจูเต๋อ
  • นายชเว ยูเอะ

ออสเตรเลีย

  • พลโท เวอร์นอน สเตอร์ดี้
  • พลเอก โทมัส เบลมีย์
  • พลโท เอ็ดมุนด์ เฮอร์ริง
  • พลโท เลสลี่ มอร์เชด
  • พลเรือโท จอห์น เกรกอรี เครซ

แคนาดา

  • พลเอก แฮร์รี่ เครราร์
  • พลโท กาย ซิเมินดส์
  • พลโท แอนดรูว์ แมคนอตัน
  • พลอากาศโท จอร์จ ครอยล์
  • พลอากาศเอก ลอยด์ ซามูเอล บรีดเนอร์

แอฟริกาใต้

  • พลตรี เอเวเรด พูล
  • พลตรี แดน พีนาร์
  • พลเอก จอร์จ บริงค์
  • พลเอก เฮนดริค คลอปเปอร์
  • พลตรี ไอแซก ปิแอร์ เดอ วิลเลิร์ส
  • พลเรือตรี จอห์น เกรกอรี เครซ

นิวซีแลนด์

  • พลโท เบอร์นาร์ด เฟรย์เบิร์ก บารอนเฟรย์เบิร์กที่ 1
  • พลอากาศเอก คีท พาร์ก
  • พลอากาศโท โรเดอริค คารร์

โปแลนด์

  • จอมพล เอ็ดเวิร์ด ริดซ์ สมิกลี่
  • พลเอก วลาดิสลาฟ ซีกอร์สกี
  • พลเอก ววาดึสวัฟ แอนเดอร์
  • จอมพล มิชาล โรลา-ซิมีแยร์สกี้

เนเธอร์แลนด์

  • พลเอก แฮ็นรี วิงเกิลมัน
  • พลเรือโท คอนราด เฮลฟริช

ลักเซมเบิร์ก

  • นายเอมีล สเปลเลอร์

ยูโกสลาเวีย

  • พลเอกแห่งกองทัพ ดราฌา มิฮาอิลอวิช
  • จอมพล ยอซีป บรอซ ตีโต

ฝ่ายอักษะ

นาซีเยอรมัน

  • กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ (Oberkommando der Wehrmacht)
    • ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งแวร์มัคท์ (Oberste befehlshaber der Wehrmacht)
      • ฟือเรอร์และนายกรัฐมนตรี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (ปี 1935–1945)
      • จอมพลเรือ คาร์ล เดอนิทซ์ (ปี 1945)
    • หัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ (Chef des Oberkommandos der Wehrmacht) – เทียบเท่ารัฐมนตรีกลาโหม
      • จอมพล วิลเฮล์ม ไคเทิล (ปี 1938–1945)
    • เสนาธิการกิจการทหารแห่งแวร์มัคท์ (Chef des Wehrmachtführungsstabes der Wehrmacht)
      • พลเอกอาวุโส อัลเฟรด โยเดิล (ปี 1939–1945)
  • กองบัญชาการใหญ่กองทัพบก (Oberkommando des Heeres)
    • ผู้บัญชาการใหญ่กองทัพบก (Oberbefehlshaber des Heeres)
      • พลเอกอาวุโส แวร์เนอร์ ฟ็อน ฟริทช์ (ปี 1935–1938)
      • จอมพล วัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์ (ปี 1938–1941)
      • ฟือเรอร์และนายกรัฐมนตรี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (ปี 1941–1945)
      • จอมพล แฟร์ดีนันท์ เชอร์เนอร์ (ปี 1945)
    • เสนาธิการกองทัพบก (Generalstabschef des Heeres)
      • พลเอกทหารปืนใหญ่ ลูทวิช เบ็ค (ปี 1935–1938)
      • พลเอกอาวุโส ฟรันทซ์ ฮัลเดอร์ (ปี 1938–1942)
      • พลเอกอาวุโส ควร์ท ไซทซ์เลอร์ (ปี 1942–1944)
      • พลโท อาด็อล์ฟ ฮ็อยซิงเงอร์ (ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง; กรกฎาคม 1944)
      • พลเอกอาวุโส ไฮนทซ์ กูเดรีอัน (ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง; 1944–1945)
      • พลเอกทหารราบ ฮันส์ เครพส์ (ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง; มีนาคม–พฤษภาคม 1945)
      • จอมพล วิลเฮล์ม ไคเทิล (ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง; 1-13 พฤษภาคม 1945)
      • พลเอกอาวุโส อัลเฟรท โยเดิล (ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง; 13-23 พฤษภาคม 1945)
  • กองบัญชาการใหญ่กองทัพเรือ (Oberkommando der Marine)
    • ผู้บัญชาการใหญ่กองทัพเรือ (Oberbefehlshaber der Marine)
      • จอมพลเรือ เอริช เรเดอร์ (ปี 1928–1943)
      • จอมพลเรือ คาร์ล เดอนิทซ์ (ปี 1943–1945)
      • พลเรือเอกอาวุโส ฮันส์-เกออร์ค ฟ็อน ฟรีเดอบวร์ค (ปี 1945)
  • กองบัญชาการใหญ่กองทัพอากาศ (Oberkommando der Luftwaffe)
    • ผู้บัญชาการใหญ่กองทัพอากาศ (Oberbefehlshaber der Luftwaffe)
      • จอมพลไรช์ แฮร์มัน เกอริง (ปี 1935–1945)
      • จอมพลอากาศ โรแบร์ท ฟ็อน ไกรม์ (ปี 1945)
  • กองทัพบกกลุ่มเหนือ (Heeresgruppe Nord)
    • จอมพล เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค
    • จอมพล วิลเฮ็ล์ม ริทเทอร์ ฟ็อน เลพ
    • จอมพล กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ
    • จอมพล วัลเทอร์ โมเดิล
    • พลเอกอาวุโส เกออร์ค ลินเดอมัน
    • พลเอกอาวุโส โยฮันเนส ฟรีสเนอร์
    • จอมพล แฟร์ดีนันท์ เชอร์เนอร์
    • พลเอกอาวุโส โลทาร์ เร็นดูลิค
  • กองทัพบกกลุ่มกลาง (Heeresgruppe Mitte)
    • จอมพล เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค
    • จอมพล กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ
    • จอมพล แอ็นสท์ บุช
    • พลเอกอาวุโส วัลเทอร์ โมเดิล
    • พลเอกอาวุโส เกออร์ค-ฮันส์ ไรน์ฮาร์ท
    • พลเอกอาวุโส แฟร์ดีนันท์ เชอร์เนอร์
  • กองทัพบกกลุ่มใต้ (Heeresgruppe Süd)
    • จอมพล แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท
    • จอมพล วัลเทอร์ ฟ็อน ไรเชอเนา
    • จอมพล เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค
    • จอมพล มัคซีมีลีอาน ฟ็อน ไวชส์
    • จอมพล เอริช ฟ็อน มันชไตน์
    • พลเอกอาวุโส โยฮันเนส ฟรีสเนอร์
    • พลเอกทหารราบ อ็อทโท เวอเลอร์
  • กองทัพยานเกราะแอฟริกา (Panzerarmee Afrika)
    • พลเอกอาวุโส แอร์วีน ร็อมเมิล
    • พลเอกทหารยานเกราะ ลูทวิช ครือเว็ล
    • จอมพล แอร์วีน ร็อมเมิล
    • พลเอกทหารยานเกราะ เกออร์ค ชตุมเมอ
    • จอมพล แอร์วีน ร็อมเมิล
    • พลเอกทหารยานเกราะ กุสทัพ เฟน
    • จอมพล แอร์วีน ร็อมเมิล
    • พลเอกอาวุโส ฮันส์-เยือร์เกิน ฟ็อน อาร์นิม
  • องค์การชุทซ์ชตัฟเฟิล (SS)
    • ไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส ไฮน์ริช ฮิมเลอร์
    • เซ็พ ดีทริช
    • ควร์ท ดาลือเกอ

ราชอาณาจักรอิตาลี

  • สิบโทเบนิโต มุสโสลินี (Benito Mussolini) (29 กรกฎาคม 2426 - 28 เมษายน 2488) ผู้นำของอิตาลี ซึ่งเขาได้นำพาอิตาลีไปอยู่ฝ่ายเดียวกันกับนาซีเยอรมัน และก่อนสงครามสิ้นสุดลง เขากับภรรยาถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์ลอบสังหารเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยศพของเขากับภรรยาถูกลากไปที่ Piazzale Loreto (มิลาน) และถูกห้อยหัวลงที่หน้าปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง
  • นายปีเอโตร บาโดลโย
  • จอมพลโรดอลโฟ กราซีอานี
  • นายพลเอมีลีโอ เด โบโน
  • นายอูโก คาวาเยโร
  • นายอาร์ตูโร ริคาร์ดี
  • นายอิตาโล บัลโบ
  • นายกาลีซโซ ชิอาโน
  • นายโจวานนี เมสซี

จักรวรรดิญี่ปุ่น

  • จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ (29 เมษายน 2444 - 7 มกราคม 2532) ระหว่างสงครามทรงพระราชทานคำปรึกษาด้านนโยบายแก่ผู้นำทางทหาร ตลอดจนพระราชทานขวัญกำลังใจ
  • พลเอก ฮิเดะกิ โทโจ (30 ธันวาคม 2427 - 23 ธันวาคม 2491) นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ภายหลังแพ้สงครามได้กระทำอัตวินิบาตกรรมแต่ไม่สำเร็จ และถูกพิจารณาคดีในฐานะอาชญากรสงคราม
  • พลเอก โคะเระชิกะ อะนะมิ (21 กุมภาพันธ์ 2430 - 15 สิงหาคม 2488) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงคราม ภายหลังแพ้สงครามได้กระทำอัตวินิบาตกรรม
  • จอมพลเรือ อิโซโรกุ ยามาโมโตะ (4 เมษายน 2427 - 18 เมษายน 2486) ผู้บัญชาการกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
  • พลเรือเอก ชูอิจิ นางูโมะ (25 มีนาคม 2430 - 6 กรกฎาคม 2487) ผู้บัญชาการกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามหลัก เช่น การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์, การทิ้งระเบิดดาร์วินและยุทธนาวีที่มิดเวย์ นางูโมะเป็นผู้นำกองกำลังญี่ปุ่นระหว่างยุทธการที่ไซปัน
  • พลเอก โคทาโร่ นากามูระ (28 สิงหาคม 2424 - 29 สิงหาคม 2490) ผู้บัญชาการกองทัพภาคตะวันออก (คันโต และ ฮนชู)
  • พลเอก โทโมยูกิ ยามาชิตะ (8 พฤศจิกายน 2428 - 23 กุมภาพันธ์ 2489) ในยศพลโทเขานำกำลังเข้ายึดสิงคโปร์และมาลายาของอังกฤษ
  • พลเอก ทาดามิจิ คูริบายาชิ (7 กรกฎาคม 2434 - 23 มีนาคม 2488) ผู้นำกำลังเข้ายึดฮ่องกง และผู้บัญชาการในยุทธการที่อิโวะจิมะ
  • พลโท ฮะรุกิชิ เฮียะกุตะเกะ (25 พฤษภาคม 2431 - 10 มีนาคม 2490) ผู้บัญชาการกองกำลังญี่ปุ่นที่นำกำลังเข้ายึดปาปัวนิวกินี และหมู่เกาะโดยรอบ
  • พลโท อาเกโตะ นากามูระ (1 เมษายน ค.ศ. 2432 – 12 กันยายน 2509) ผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เป็นนายพลระดับสูงเพียงไม่กี่คนที่รอดพ้นโทษประหาร
  • พลโท โยะชิสึงุ ไซโต (2 พฤศจิกายน 2433 - 6 กรกฎาคม 2487) ผู้บัญชาการในยุทธการไซปัน

ราชอาณาจักรฮังการี

  • พลเอกอาวุโส กุสตาฟ ยานี
  • พลเอกอาวุโส เดซโซ ลาสซโล
  • พลเอกอาวุโส เกซา ลาคาตอส
  • พลเอกอาวุโส ฟีเรนซ์ ซอมบาเธลี่
  • พลเอกอาวุโส เบลา มิกลอส

ราชอาณาจักรไทย

  • จอมพล ป. พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม 2440 - 11 มิถุนายน 2507) นายกรัฐมนตรีของไทย ผู้บัญชาการทหารบก
  • พลโท พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต
  • พลเอก พจน์ พหลโยธิน
  • พลโท จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
  • พลโท จิร วิชิตสงคราม
  • พลโท ผิน ชุณหะวัณ
  • พลเรือเอก สินธุ์ กมลนาวิน
  • นาวาเอก หลวงพร้อมวีระพันธ์
  • นาวาตรี ชั้น สิงหชาญ
  • เรือเอก ประทิน ไชยปัญญา
  • นาวาตรี ใบ เทศนะสดับ
  • เรือเอก กระวิน ธรรมพิทักษ์
  • พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์
  • พลอากาศโท บุญเจียม โกมลมิศร์
  • พลอากาศโท กาพย์ ทัตตานนท์
  • นาวาอากาศตรี หม่อมหลวงประวาศ ชุมสาย
  • เรืออากาศเอก คำรบ เปล่งขำ
  • เรืออากาศเอก เทอดศักดิ์ วรทรัพย์
  • พลอากาศตรี ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
  • นาวาอากาศตรี เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร

ราชอาณาจักรโรมาเนีย

  • จอมพล อียอน อันตอเนสกู (14 มิถุนายน 2425 - 1 มิถุนายน 2489) นายกรัฐมนตรีของโรมาเนีย
  • พลเอก ปีเตอร์ ดูมิเทรสคู
  • พลเอก คอนสแตนติน คอนสแตนติเนสคู-คลาปส์
  • พลเอก จอร์จ อัฟราเมสคู
  • พลเอก ไอออน มิเฮล ราโควิตซา
  • พลเอก วาซิล อตานาซิอู
  • พลเอก มิเฮล ลาสการ์
  • พลเอก คอนสแตนติน ซานาเทสคู
  • พลโท คอนสแตนติน นิโคเลสคู
  • พลโท คอร์เนลู ดรากาลิน่า
  • พลตรี ไอออน ดูมิตราเช
  • พลตรี จอร์จ มาโนลิอู
  • พลจัตวา ดูมิทรู ดามาเซียนู
  • พลจัตวา คอร์เนลู เตโอโดรินี่

ราชอาณาจักรบัลแกเรีย

  • พันตรี สโตยาน สโตยานอฟ

สโลวาเกีย

  • พลตรี เฟอร์ดินานด์ ชัตลอช

อื่น ๆ

ฟินแลนด์

  • จอมพล คาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม
  • พลโท รูเบน ลากุส
  • พลเอก เอริค เฮนริชส์
  • พลเอก วิลโฮ เพตเตอร์ เนะโนะเน็น
  • พลเอก ปาโว ตัลเวลา

พม่า

  • พลตรี อองซาน

ยูเครน

  • พลเอก โรมัน ชูเควิช

อ้างอิง

Collection James Bond 007


Text submitted to CC-BY-SA license. Source: รายชื่อผู้บัญชาการทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง by Wikipedia (Historical)


PEUGEOT 205