Aller au contenu principal

รัฐบัญญัติมอบอำนาจ


รัฐบัญญัติมอบอำนาจ


รัฐบัญญัติมอบอำนาจ (เยอรมัน: Ermächtigungsgesetz) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐบัญญัติว่าด้วยการบรรเทาทุกข์แห่งประชาชนและประเทศ (เยอรมัน: Gesetz zur Behebung der Not von Volk und Reich) เป็นกฎหมายที่ผ่านโดยที่ประชุมใหญ่ไรชส์ทาค และได้รับการลงนามจากประธานาธิบดีเพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค ในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1933 ซึ่งเป็นการมอบอำนาจเต็มบริบูรณ์และขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นฟือเรอร์ ผลจากบัญญัติดังกล่าวเป็นการอนุญาตให้คณะรัฐมนตรีสามารถผ่านกฎหมายได้โดยไม่ต้องผ่านไรชส์ทาคเป็นเวลาสี่ปี

เบื้องหลัง

หลังจากการประกาศใช้กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค ฮิตเลอร์ได้ใช้ข้ออ้างดังกล่าวในการจับกุมผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี นับเป็นการกำจัดบทบาททางการเมืองออกไปอย่างสิ้นเชิง

ถึงแม้ว่าพรรคนาซีจะได้รับคะแนนเสียงกว่าห้าล้านคะแนนในการเลือกตั้งที่ผ่านมา แต่พรรคนาซีก็ไม่อาจเป็นพรรคที่ครองเสียงข้างมากในไรชส์ทาคได้ โดยอีกห้าสิบสองที่นั่งเป็นของพรรคประชาชนแห่งชาติเยอรมัน ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ฮิตเลอร์ได้เรียกประชุมกับคณะรัฐมนตรีของเขาในวันที่ 15 มีนาคม เพื่อร่างบัญญัติการให้อำนาจ ซึ่งพรรคนาซีจะอาศัยอำนาจดังกล่าวเพื่อจะได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองอย่างสมบูรณ์โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากวุฒิสภา และไม่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกับพรรคร่วมรัฐบาลอีกต่อไป

การเตรียมการและการเจรจา

รัฐบัญญัติดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ผ่านกฎหมายได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา เพราะรัฐบัญญัติดังกล่าวถือว่าเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการประกาศใช้รัฐบัญญัติดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่สองในสาม และได้รับคะแนนเสียงจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสองในสามเช่นกัน

การลงจะลงคะแนนเสียงเห็นชอบกับรัฐบัญญัติมอบอำนาจ คาดว่า พรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งเยอรมนีและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนีจะลงคะแนนเสียงคัดค้าน เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากทั้งสองพรรคถูกจับกุมเป็นบางส่วน จากผลของกฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค พรรคนาซีคาดว่า ชนชั้นกลาง เศรษฐีเจ้าของที่ดินและผู้ได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจจะลงคะแนนเสียงสนับสนุนรัฐบัญญัติดังกล่าว เพราะกลุ่มบุคคลเหล่านี้น่าจะเบื่อหน่ายต่อความไม่มีเสถียรภาพของสาธารณรัฐไวมาร์ และไม่กล้าที่จะขัดขวางพวกเขา

ด้านฮิตเลอร์เชื่อว่า ด้วยการออกเสียงสนับสนุนจากพรรคกลางจะทำให้เขาได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่มากกว่าสองในสาม ดังนั้นฮิตเลอร์จึงเจรจากับหัวหน้าพรรคกลาง ลุดวิก คาส ซึ่งการเจรจายุติลงในวันที่ 22 มีนาคม โดยคาสตกลงที่จะลงคะแนนเสียงให้กับรัฐบัญญัติมอบอำนาจนี้ โดยแลกกับการปกป้องพลเมืองชาวคาทอลิก เสรีภาพในการศาสนา โรงเรียนสอนศาสนา และลูกจ้างซึ่งได้รับการว่าจ้างจากพรรคกลาง

นักประวัติศาสตร์บางคน อย่างเช่น เคลาส์ โชลเดอร์ ยืนยันว่าฮิตเลอร์ยังสัญญาที่จะเจรจาข้อตกลงกับพระสันตปาปา ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นการยกระดับฐานะของโบสถ์คาทอลิกในเยอรมนีในระดับชาติ แต่อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างรัฐบัญญัติมอบอำนาจและข้อตกลงระหว่างฮิตเลอร์กับพระสันตปาปา

ผลที่ตามมา

ภายใต้รัฐบัญญัติดังกล่าว ทำให้คณะรัฐมนตรีสามารถออกกฎหมายได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านไรชส์ทาค โดยกฎหมายเหล่านี้บางส่วนอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญเสียด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นการยุติบทบาททางการเมืองของสมาชิกวุฒิสภา จากผลของรัฐบัญญัติมอบอำนาจและกฤษฎีกาว่าด้วยเพลิงไหม้ไรชส์ทาคทำให้รัฐบาลของฮิตเลอร์เป็นเผด็จการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ผลจากรัฐบัญญัติดังกล่าวยังเป็นการถอดความพลั้งเผลอของตัวประธานาธิบดีได้ ทั้งนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งว่าประธานาธิบดีฮินเดนบูร์กไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหารายวันที่เกิดขึ้น และคำสั่งจากประธานาธิบดีที่ต้องใช้ในการผ่านกฎหมายใด ๆ ก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

อ้างอิง


Text submitted to CC-BY-SA license. Source: รัฐบัญญัติมอบอำนาจ by Wikipedia (Historical)

Articles connexes


  1. การเถลิงอำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
  2. รัฐบัญญัติสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์
  3. ไรชส์ทาค (สาธารณรัฐไวมาร์)
  4. คณะรัฐมนตรีฮิตเลอร์
  5. รัฐบัญญัติบาย–โดล
  6. พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา
  7. รัฐบัญญัติคุ้มครองผู้ป่วยและการบริบาลที่เสียได้
  8. รัฐเดี่ยว
  9. ฟือเรอร์
  10. กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค
  11. ลัทธิอำนาจนิยม
  12. พรรคกลาง (ประเทศเยอรมนี)
  13. คำสั่งของฝ่ายบริหาร
  14. โจเซฟ เฟลเดอร์
  15. คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
  16. หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย
  17. พรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี
  18. รัฐบาลสกอต
  19. รัฐบัญญัติความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคในรัฐแคลิฟอร์เนีย
  20. อ็อทโท โกรเทอโวล


ghbass