Aller au contenu principal

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นหนึ่งในสี่ของมหาวิทยาลัยภายหลังที่ได้ยกเลิกระบบการสอนแบบธรรมศาสตร์บัณฑิต และนับเป็นคณะเศรษฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นคณะเศรษฐศาสตร์คณะแรกที่มีการเริ่มใช้หลักสูตรนานาชาติทั้งในระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญา ปัจจุบันมีการผลิตนักเศรษฐศาสตร์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเศรษฐกิจต่างๆ ไปพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง

ประวัติ

พ.ศ. 2477 เมื่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ระยะแรกเปิดสอนระดับปริญญาตรีเพียงสาขาเดียวคือ สาขานิติศาสตร์ ได้รับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า ธ.บ. โดยในภาคที่ 5 และ 6 ของหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิต มีวิชาเศรษฐศาสตร์อยู่ 2 วิชา คือ "เศรษฐศาสตร์" และ "ลัทธิเศรษฐกิจ" ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค เป็นผู้สอนวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นท่านแรก และศาสตราจารย์ฮัจ เจสสัน เป็นผู้สอนวิชาลัทธิเศรษฐกิจ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนการสอนด้านเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย

ทั้งนี้การสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในระยะแรก เป็นการสอนตามแนวฝรั่งเศสแบบเก่า อาศัยผู้สอนที่จบการศึกษาด้านกฎหมายจากฝรั่งเศส ยังไม่มีผู้สอนที่จบเศรษฐศาสตร์โดยตรง

ต่อมาเปิดมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ในระดับปริญญาโทและเอก โดยมีศาสตราจารย์แอล ดูปลาตร์ ซึ่งมีตำแหน่งคณบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นผู้สอนวิชาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

พ.ศ. 2492 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ยกเลิกระบบการสอนแบบธรรมศาสตร์บัณฑิต และเปลี่ยนโครงสร้างเป็นคณะต่างๆ โดยได้ประกาศจัดตั้งคณะ 4 คณะ ได้แก่คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 จึงถือเป็นการกำเนิดขึ้นของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับเป็นคณะเศรษฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค เป็นคณบดีคนแรก

พ.ศ. 2507 ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ารับตำแหน่งคณบดี โดยมีภารกิจสำคัญคือ การสร้างบุคลากร ได้ขอเพิ่มอัตราตำแหน่งอาจารย์ ติดต่อหาทุนเรียนต่อต่างประเทศให้อาจารย์รุ่นใหม่ๆ ที่รับเข้า หาอาจารย์ชาวต่างประเทศมาช่วยปูพื้นความรู้ของอาจารย์ที่จะส่งไปเรียนต่อ และช่วยวางหลักสูตรเศรษฐศาสตร์โดยได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ ทำให้คณะเศรษฐศาสตร์มีอาจารย์ประจำเพิ่มขึ้นจาก 6 คน เป็น 59 คน ในเวลาเพียง 6 ปี

พ.ศ. 2508 ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรีภาคค่ำ

พ.ศ. 2509 มีการประกาศใช้หลักสูตรปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ที่ได้มาตรฐานหลักสูตรแรกของไทย ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา ได้แก่ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ สถิติเศรษฐศาสตร์ การเงินการธนาคาร และเศรษฐศาสตร์ประยุกต์

พ.ศ. 2512 ได้เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ) ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรแรกในไทย การเรียนการสอนใช้ภาษาอังกฤษและเรียนเต็มเวลา

พ.ศ. 2536 เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ) หลักสูตรและหลักสูตรเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ)

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคุณภาพของบัณฑิตของคณะเศรษฐศาสตร์ เป็นที่ยอมรับของทั้งในและนานาประเทศ ซึ่งย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นและความสามารถของคณาจารย์และบุคลากรในคณะเป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการที่บัณฑิตของคณะได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการบริหารประเทศในระดับนโยบายและปฏิบัติ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนอย่างกว้างขวาง นอกจากนั้นยังเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในองค์กรระหว่างประเทศอีกด้วย

หลักสูตร

ปริญญาตรี

  • เศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศบ.) (Bachelor of Economics: B.Econ.) หลักสูตร 4 ปี ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • เศรษฐศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ (ศบ.ภาคภาษาอังกฤษ) (Bachelor of Economics, English Programme: B.Econ., English Programme) หลักสูตร 4 ปี ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ปริญญาโท

  • เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ศม.) (Master of Economics: M.Econ.) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ (ศม.ภาคภาษาอังกฤษ) (Master of Economics, English Programme: M.Econ., English Programme) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (ศม.เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) (Master of Business Economics,: M.Econ., Business Economics) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติเศรษฐศาสตร์ (ศศ.ม.นิติเศรษฐศาสตร์)(Master of Arts,: M.A., International Trade Laws and Economics) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยเป็นโครงการร่วมกับคณะนิติศาสตร์

ปริญญาเอก

  • ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต หรือ Philosophy of Economics Programme (Ph.D., Economics) ภาคภาษาอังกฤษ ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ทำเนียบคณบดี

คณบดีและรักษาการคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประธานคณะกรรมการนักศึกษา

คณะกรรมการนักศึกษาคณะได้มาโดยการเลือกตั้งทั่วไปภายในคณะ เป็นตัวแทนของนักศึกษาในคณะและรับผิดชอบบริหารกิจกรรมทั้งปวงเกี่ยวกับกิจกรรมของนักศึกษาในคณะ

บุคคลมีชื่อเสียง

บางส่วนจากรายชื่อศิษย์เก่าดีเด่น และ คอลัมน์ "ซูม" จากหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ

  • ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (คณบดี) ผู้วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย และได้รับการยกย่องจากองค์กรยูเนสโกให้เป็น "บุคคลสำคัญของโลก" ในปี พ.ศ. 2558 สมาชิกขบวนการเสรีไทย, อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ
  • ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม (คณบดี, อธิการบดี, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ) อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ผศ.ทวี หมื่นนิกร (ศิษย์เก่า, อดีตอาจารย์) 1 ใน 13 ขบถรัฐธรรมนูญ ในเหตุการณ์ 14 ตุลา​
  • ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา (อาจารย์) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ พ.ศ. 2529, ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) อดีตศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.ดร.นริศ ชัยสูตร (ศิษย์เก่า, อดีตอาจารย์) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.ดร.ปราณี ทินกร (ศิษย์เก่า, อาจารย์) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.ดร.ดิเรก ปัทมศิริวัฒน์ (อาจารย์) ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว (อดีตอาจารย์) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (ศิษย์เก่า, อาจารย์) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ (ศิษย์เก่า, อาจารย์) ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง (ศิษย์เก่า) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ พ.ศ. 2558, ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
  • รศ.ดร.วรวุฒิ หิรัญรักษ์ (ศิษย์เก่า, อาจารย์) ภาคีสมาชิกสาขาเศรษฐศาสตร์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รศ.ดร.วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ (ศิษย์เก่า) อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตที่ปรึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชน
  • รศ.ดร.กนกศักดิ์ แก้วเทพ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตกรรมการ ThaiPBS
  • รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อธิการบดีสถาบันปัญญาภิวัฒน์
  • รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้อำนวยศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาฯ
  • ศ.ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ (ศิษย์เก่าปริญญาโท) ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย (อดีตอาจารย์) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ (อดีตอาจารย์, ศิษย์เก่าปริญญาโท) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัญญาชนสาธารณะ
  • ศาสตราภิชาน ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (ศิษย์เก่า) สมาชิกวุฒิสภา, ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์, นักจัดรายการวิทยุ
  • รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร (ศิษย์เก่า, อาจารย์) คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รศ.ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ผู้เขียนหนังสือ “พระพรหมช่วยอำนวยให้ชุ่มฉ่ำ” งานวิชาการที่ศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
  • รศ.วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน (ศิษย์เก่า, อดีตอาจารย์) อดีตรองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รศ.วิทยากร เชียงกูล (ศิษย์เก่า) นักเขียน, ผู้อำนวยการวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  • รศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรณาธิการนิตยสารวิภาษา
  • ผศ.ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี (ศิษย์เก่า, อดีตอาจารย์) รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • ผศ.ปกป้อง จันวิทย์ (ศิษย์เก่า, อดีตอาจารย์) ผู้ก่อตั้งบริษัท ดิ วันโอวัน เปอร์เซนต์ จำกัด
  • เรวัต พุทธินันทน์ (เต๋อ) (ศิษย์เก่า) ผู้ก่อตั้งบริษัท แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์หรือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (อดีตอาจารย์) นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
  • ผศ.(พิเศษ)ดร.สมชาย หาญหิรัญ (ศิษย์เก่า) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
  • ศาสตราภิชาน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (ศิษย์เก่า) นักเศรษฐศาสตร์, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ประธานกรรมการ ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น
  • ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล (ศิษย์เก่า) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ
  • ดร.วิรไท สันติประภพ (ศิษย์เก่า) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
  • สมชาย กรุสวนสมบัติ (ศิษย์เก่า) ประธานการสภาหนังสือพิมพ์แห่งชาติ อดีตรองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คอลัมนิสต์เจ้าของนามปากกา "ซูม"
  • อดิสร จรณจิตต์ (ศิษย์เก่า) ผู้บริหารในบริษัทเครืออิตัล–ไทย
  • ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ (ศิษย์เก่า) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน), นายกสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย
  • กมล กมลตระกูล (ศิษย์เก่า) นักหนังสือพิมพ์
  • กรพจน์ อัศวินวิจิตร (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน นักธุรกิจด้านค้าข้าว
  • คำสิงห์ ศรีนอก (ศิษย์เก่า) ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2535
  • ชนินทร์ ว่องกุศลกิจ (ศิษย์เก่า) ประธานบริหารบริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน)
  • เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ (ศิษย์เก่า) นักแต่งเพลง
  • สุภชัย ปิติวุฒิ (ศิษย์เก่า) เจ้าของแฟนเพจชาวนาวันหยุด เปียกสลับแห้งแกล้งข้าว
  • ศิริพล ยอดเมืองเจริญ (ศิษย์เก่า) ปลัดกระทรวงพาณิชย์
  • อรัญ ธรรมโน (ศิษย์เก่า) ปลัดกระทรวงการคลัง
  • ดร.อภิชาติ ดำดี (ศิษย์เก่า) วิทยากร, นักพูด, นักจัดรายการ, อดีตสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2549, อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
  • สุรางคณา สุนทรพนาเวศ (ศิษย์เก่า) รองนางสาวไทย พ.ศ. 2534, นักแสดง, พิธีกร
  • ธีรภัทร์ สัจจกุล (ศิษย์เก่า) นักแสดง, นักร้อง
  • รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ (คณบดี) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
  • ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช (ศิษย์เก่า) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล (ศิษย์เก่า) นักเขียน นักแสดง/พิธีกร นักผจญภัย นักดนตรี
  • วุฒิธร มิลินทจินดา (ศิษย์เก่า) พิธีกรชื่อดัง, ผู้บริหาร
  • ผศ.ดร.นิธินันท์ วิศเวศวร (ศิษย์เก่า, อาจารย์) อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ, คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่ง พ.ศ. 2554
  • ดร.กิริฎา เภาพิจิตร (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการวิจัยและคำปรึกษาระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), นักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่ง พ.ศ. 2553
  • โอบนิธิ วิวรรธนวรางค์ (โอบ) (ศิษย์เก่า) นักแสดงสังกัด จีดีเอช ห้าห้าเก้า
  • ณัฐวุฒิ เจนมานะ (ศิษย์เก่า) ผู้เข้าประกวดรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 1, นักดนตรี, นักเขียน
  • ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร (ศิษย์เก่า) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2554
  • เมธวิน โอภาสเอี่ยมขจร (วิน) (ศิษย์เก่า) นักแสดงสังกัด จีเอ็มเอ็มทีวี
  • พระอาจารย์สุดใจ ทนฺตมโน (ศิษย์เก่า) พระอุปัฏฐากพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด
  • ดุสิตา กิติสาระกุลชัย (แนทเธอรีน) นักร้อง, นางแบบ, นักแสดง, อดีตสมาชิกวง BNK48 รุ่นที่ 2
Giuseppe Zanotti Luxury Sneakers

อ้างอิง




Text submitted to CC-BY-SA license. Source: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ by Wikipedia (Historical)


INVESTIGATION