Aller au contenu principal

รายนามประมุขแห่งรัฐยูโกสลาเวีย


รายนามประมุขแห่งรัฐยูโกสลาเวีย


บทความนี้แสดงรายนามประมุขแห่งรัฐยูโกสลาเวีย โดยเริ่มต้นตั้งแต่การสถาปนาราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนใน ค.ศ. 1918 จนกระทั่งการล่มสลายของสหภาพรัฐเซอร์เบียและมอนเตเนโกรใน ค.ศ. 2006 ซึ่งถือเป็นจุดจบของการรวมชาติยูโกสลาเวียอย่างสมบูรณ์

ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น "ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย" ใน ค.ศ. 1929) เป็นรัฐราชาธิปไตยแบบสืบสันตติวงศ์ภายใต้การนำของราชวงศ์คาราจอร์เจวิชตั้งแต่ ค.ศ. 1918 จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังสงครามยุติลง สหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวียภายใต้การนำของอีวาน รีบาร์ ผู้ซึ่งเป็นประธานสูงสุดแห่งสมัชชาแห่งชาติ (โฆษกรัฐสภา) และหลังจากนั้นโดยประธานาธิบดียอซีป บรอซ ตีโต ตั้งแต่ ค.ศ. 1953 จนกระทั่งการอสัญกรรมของเขาใน ค.ศ. 1980 ซึ่งหลังจากนั้นมาตำแหน่งประธานาธิบดียูโกสลาเวียได้ถูกกำหนดให้เป็นแบบประมุขแห่งรัฐรวมกลุ่ม (collective head of state) โดยมีการผลัดเปลี่ยนกันระหว่างหมู่ตัวแทนของแต่ละสาธารณรัฐและจังหวัดปกครองตนเอง อย่างไรก็ตาม จนถึง ค.ศ. 1990 ตำแหน่งของประธานสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวียมักเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจสูงที่สุด และในปีเดียวกันนั้น มีการนำระบบหลายพรรคมาใช้ แต่ประมุขแห่งรัฐยังคงหมุนเวียนกันในหมู่ผู้แทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากสาธารณรัฐและจังหวัดปกครองตนเอง จนกระทั่งการล่มสลายของยูโกสลาเวียในสองปีต่อมา

ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (ค.ศ. 1918—1929)

ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1915 ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ราชอาณาจักรเซอร์เบีย (เซอร์เบีย: Краљевина Србија) ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและบัลแกเรีย (ในความเป็นจริงแล้วการปลดปล่อยดินแดนดำเนินการตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 1917) ระหว่างการถูกยึดครองนั้น พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 แห่งคาราจอร์เจวิช ทรงตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นอยู่ที่คอร์ฟูของกรีซ ซึ่งในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 หัวหน้ารัฐบาลเซอร์เบียนีโคลา ปาชิช และประธานคณะกรรมการยูโกสลาฟประจำกรุงลอนดอนอานเต ตรุมบิช ได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการการรวมเซอร์เบียและดินแดนสลาฟใต้ของออสเตรีย-ฮังการีให้เป็นรัฐเดียวเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์คาราจอร์เจวิชแห่งเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1917 คณะกรรมการรวมชาติมอนเตเนโกรในกรุงปารีสร้องขอเข้าร่วมในปฏิญญาด้วย ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Краљевина Срба, Хрвата и Словенаца / Kraljevina Srba, Hrvata i Slovenaca, สโลวีเนีย: Kraljevina Srbov, Hrvatov in Slovencev) ได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยพระมหากษัตริย์เซอร์เบียปีเตอร์ที่ 1 ได้รับการสถาปนาเป็น "พระมหากษัตริย์แห่งปวงชนชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: краљ Срба, Хрвата и Словенаца / kralj Srba, Hrvata i Slovenaca) แต่เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระพลานามัยที่ไม่แข็งแรง พระองค์จึงทรงมอบพระราชอำนาจให้แก่มกุฎราชกุมารอเล็กซานเดอร์แห่งคาราจอร์เจวิช เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1918 รัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Država Slovenaca, Hrvata i Srba; Држава Словенаца, Хрвата и Срба, สโลวีเนีย: Država Slovencev, Hrvatov in Srbov) ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากรวมตัวกันของดินแดนสลาฟใต้ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ราชอาณาจักรโครเอเชีย–สลาโวเนีย ราชอาณาจักรแดลเมเชีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และคาร์นีโอลา) ในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1918 ได้ขอเข้าร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับราชอาณาจักร รัฐบาลเซอร์เบียของปาชิชยังคงเป็นรัฐบาลชั่วคราวของราชอาณาจักรใหม่ต่อไป จนกระทั่งสโตจาน โปรติช ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสภารัฐมนตรีคนแรก (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Председник министарског савета / Predsjednik ministarskog vijeća) ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1921 ซึ่งตรงกับวันวีดอฟดาน ทางสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งบังคับใช้จนกระทั่งการสถาปนาระบอบเผด็จการราชวงศ์ของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1929 และในวันที่ 3 ตุลาคม พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงประกาศใช้กฎหมาย "ว่าด้วยชื่อและการแบ่งเขตการปกครองของราชอาณาจักร" ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันต่อมา ทำให้ประเทศถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย" นับตั้งแต่นั้นมา (แม้ว่าก่อนหน้านั้นจะมีการใช้ชื่อ "ยูโกสลาเวีย" กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว แต่ยังคงไม่เป็นทางการ)

ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย (ค.ศ. 1929—1945)

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1929 กษัตริย์อเล็กซานเดอร์ทรงประกาศใช้กฎหมาย "ว่าด้วยชื่อและการแบ่งเขตการปกครองของราชอาณาจักร" ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันต่อมา ทำให้ประเทศถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย" (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Краљевина Југославија / Kraljevina Jugoslavija, สโลวีเนีย: Kraljevina Jugoslavija) และมีการแบ่งการปกครองเป็นแบบบาโนวีนา (banovina) โดยยึดตามองค์ประกอบของชาติพันธุ์เป็นหลัก

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือที่รู้จักกันว่า "รัฐธรรมนูญเดือนกันยายน" (เซอร์เบีย: Септембарски устав) ได้ประกาศใช้ตามพระราชประสงค์ของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1931 ซึ่งถือเป็นยุติระบอบเผด็จการโดยราชวงศ์อย่างเป็นทางการ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับใช้จนกระทั่งการก่อตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวียเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 ภายหลังการลอบปลงพระชนม์กษัตริย์อเล็กซานเดอร์ในมาร์แซย์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1934 เจ้าชายปอล คาราจอร์เจวิชได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะผู้สำเร็จราชการภายใต้มกุฎราชกุมารปีเตอร์ที่ 2) เจ้าชายปอลทรงดำเนินนโยบายสู่การสร้างสายสัมพันธ์กับเยอรมนีและอิตาลี กองกำลังทางการเมืองที่โดดเด่นในช่วงเวลานี้คือสหภาพมูลวิวัติยูโกสลาฟ ซึ่งมีอุดมการณ์ที่คล้ายคลึงกับลัทธิฟาสซิสต์ รัฐบาลที่นำโดยดรากีชา ซเวตโควิช ได้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1941 ทว่าในอีกสองวันต่อมารัฐบาลและเจ้าชายปอลถูกโค่นอำนาจเนื่องจากเกิดการรัฐประหาร คณะรัฐประหารได้มอบพระราชอำนาจและประกาศบรรลุนิติภาวะแด่กษัตริย์ปีเตอร์ที่ 2 พร้อมทั้งจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยนายพลดูชัน ซีมอวิช

ในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1941 กองกำลังเยอรมันและอักษะเข้าโจมตียูโกสลาเวียและแบ่งแยกดินแดนของประเทศในช่วงการบุกครองยูโกสลาเวีย ซึ่งในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1941 คณะรัฐบาลพร้อมด้วยกษัตริย์ปีเตอร์ที่ 2 เสด็จลี้ภัยออกประเทศและจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นอยู่ที่ลอนดอนตลอดช่วงสงคราม

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย

หมายเหตุ

อ้างอิง


Text submitted to CC-BY-SA license. Source: รายนามประมุขแห่งรัฐยูโกสลาเวีย by Wikipedia (Historical)


ghbass