Aller au contenu principal

โกปาอาเมริกา 2019


โกปาอาเมริกา 2019


โกปาอาเมริกา 2019 เป็นการแข่งขันฟุตบอลโกปาอาเมริกา ครั้งที่ 49 ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลชายระดับนานาชาติในทวีปอเมริกาใต้ จัดการแข่งขันขึ้นโดยคอนเมบอลที่ประเทศบราซิล โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน ถึง 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2019

โดยทีมชาติชิลีจะแข่งในฐานะแชมป์เก่า หลังจากคว้าแชมป์ 2 ปี ติดต่อกันในปี 2015 และ 2016 (เซนเตนาริโอ) ซึ่งในปีนี้พวกเขาจบการแข่งขันลงในอันดับที่ 4 หลังจากพ่ายแพ้ต่อ อาร์เจนตินา ในนัดชิงที่สาม 2–1 ขณะที่ทีมบราซิล ชนะเลิศการแข่งขันในปีนี้เป็นสมัยที่ 9 ได้สำเร็จหลังจากเอาชนะ เปรู ได้ในรอบชิงชนะเลิศ 3–1 ที่สนามกีฬามารากานัง

โกปาอาเมริกา 2019 จะเป็นครั้งสุดท้ายที่จะแข่งขันในปีคี่ ก่อนที่จะเริ่มแข่งขันในปีคู่จากกำหนดเดิมในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งภายหลังการแข่งขันในปีดังกล่าว ได้ถูกเลื่อนออกไปแข่งในปี ค.ศ. 2021 หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ทำให้การเริ่มการแข่งขันในปีคู่ จะเกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2024 ซึ่งจะจัดในห้วงเวลาที่ใกล้เคียงกับ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป

การคัดเลือกเจ้าภาพ

ในการแข่งขันโกปาอาเมริกานั้นสมาคมฟุตบอลอเมริกาใต้จะคัดเลือกเจ้าภาพจากการเรียงตัวอักษรและทำให้โกปาอาเมริกา 2019 นั้นชิลีจะได้เป็นเจ้าภาพ และ บราซิลจะได้เป็นเจ้าภาพในปี 2015 แต่เนื่องจากประเทศบราซิลนั้นได้รับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013 ฟุตบอลโลก 2014 และ โอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ซี่งบราซิลจึงไม่ประสงค์ที่ที่จะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันโกปาอาเมริกา 2015 อีก ซึ่งคอนเมบอลได้อนุมัติให้สลับการเป็นเจ้าภาพเมื่อปี ค.ศ. 2012

ทีม

นอกเหนือจากสิบชาติที่อยู่ในสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้ (คอนเมบอล) ซึ่งได้แข่งขันอย่างแน่นอนอยู่แล้วนั้น คอนเมบอล เริ่มวางแผนที่จะจัดการแข่งขัน 16 ทีมโดยเชิญหกทีมภายนอกมาแข่งขัน. ในวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2018, คอนเมบอลได้ประกาศว่าจะเชิญ 3 ทีมจากสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และแคริบเบียน (คอนคาแคฟ) และ 3 ทีมจาก สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) มาเข้าร่วมแข่งขันในครั้งนี้ ในวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2018, มีการประกาศว่า กาตาร์ ซึ่งเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ได้ยอมรับคำเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน, ในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 คอนเมบอล ประกาศว่าจะมีทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 12 ทีม เท่าเดิมกับจำนวนทีมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 เป็นต้นมา (หากไม่นับรวมการแข่งขันที่ฉลองครบ 100 ปี ในปี 2016) โดยอีกหนึ่งชาติที่เข้าร่วมคือ ญี่ปุ่น จากเอเอฟซี (ทวีปเอเชีย)

กาตาร์จะกลายเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศอาหรับ ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันโกปาอาเมริกา ขณะที่ญี่ปุ่นจะปรากฏเข้าร่วมแข่งขันเป็นครั้งที่สองของพวกเขา โดยครั้งแรกได้แข่งขันในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งได้ตกรอบในรอบแบ่งกลุ่ม, การแข่งขันในครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่ไม่มีทีมจาก คอนคาแคฟ เข้าแข่งขันนับตั้งแต่มีการเชิญทีมนอกทวีปมาร่วมแข่งขันในปี ค.ศ. 1993 โดยเม็กซิโกซึ่งได้ลงแข่งขันครบทั้ง 10 ครั้งตั้งแต่ปีดังกล่าว ก็จะไม่ได้ร่วมเล่นในโกปาอาเมริกาครั้งนี้ด้วย

สนามการแข่งขัน

ในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2018 รองประธานสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล เฟร์นังดู ซาร์เนย์ ได้ประกาศห้าเมืองที่จะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันคือ ซัลวาดอร์, โปร์ตูอาเลกรี, เซาเปาลู, เบโลโอรีซอนชี และรีโอเดจาเนโร การประกาศรายชื่อสนามแข่งขันเกิดขึ้นในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018. โดยนักเปิดสนามจะแข่งขันที่ เอสตาจีอูดูโมรุงบี ใน เซาเปาลู, รอบรองชนะเลิศจะแข่งขันที่สนาม เอสตาจีอูดูเกรมีอู ใน โปร์ตูอาเลกรี และ เอสตาจีอูมีเนย์เรา ใน เบโลโอรีซอนชี, โดยนัดชิงชนะเลิศจะแข่งขันที่สนาม เอสจาจีอูดูมารากานัง ใน ริโอเดจาเนโร.ในวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 คอนเมบอลได้ประกาศว่าการแข่งขันจะใช้สนามอาเรนาโกริงชังส์ แทนที่ของสนาม อลิอันซ์ปราดคี ที่ได้กำหนดไว้แต่เดิม ซึ่งตั้งอยู่ในเซาเปาลู เช่นกัน

การจับสลาก

การจับสลากเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2019 ที่ Cidade das Artes ในริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล โดยโถจับสลากมีทั้งหมด 4 โดยจับหนึ่งทีมในแต่ละโถมารวมกันเพื่อจะได้ 4 ทีมที่จะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

ซึ่งการประชุมสภา คอนเมบอล เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 นั้น มีการตัดสินใจว่าจะใช้อันดับโลกฟีฟ่า เป็นตัวในการแบ่งโถโดยมติครั้งนี้จะใช้ต่อไปในครั้งต่อ ๆ ไปของโกปาอาเมริกา

ซึ่งในโกปาอาเมริกา 2019 นั้นจะใช้อันดับโลกฟีฟ่าครั้งล่าสุดในขณะวันที่จับ ณ วันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2018 โดยอันดับฟีฟ่าจะเว้นวรรคอยู่หลังชื่อทีมดังนี้โดยโถแบ่งออกเป็น 4 โถ โถที่หนึ่งนั้นมี ทีมชาติบราซิล (ได้รับตำแหน่งสูงสุดในโถ 1 โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว) และ อีก 2 ทีมที่อันดับโลกดีที่สุด และอีก 3 ทีมที่ดีที่สุดรองลงมาจะอยู่ในโถ 2, 3, 4 ค่อไป โดยทีมที่อยู่ในโถที่ 1 จะถูกจับสลากมาอยู่ในกลุ่มเดียวกับทีมในโถ่ อื่นๆ ทั้ง 3 รวมเป็น 4 ทีม, แต่ กาตาร์ และ ญี่ปุ่น สองทีมที่ได้รับเชิญมานั้นจะไม่สามารถอยู่กลุ่มเดียวกันได้

ผู้ตัดสิน

รายชื่อผู้ตัดสินรวม 23 คน และผู้ช่วยผู้ตัดสินอีก 23 คน ได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2019

ผู้เล่น

โดยแต่ล่ะทีมจะมีผู้เล่น 23 คน โดยทุกทีมจะต้องส่งรายชื่อ 3 คนในตำแหน่งผู้รักษาประตู.

รอบแบ่งกลุ่ม

กำหนดการการแข่งขันประกาศเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2018 ผู้ชนะและรองชนะเลิศของแต่ละกลุ่มและอันดับสามทีมที่ดีที่สุด 2 ทีมจากทุกกล่มจะเข้าสู่รอบแพ้คัดออก รวมทั้งสิ้น 8 ทีม

เวลาทั้งหมดที่ระบุข้างล่างนี้เป็นเวลาท้องถิ่น, (UTC−3).

กฎการจัดอันดับรอบแบ่งกลุ่ม

การจัดลำดับทีมในตารางคะแนนจะมีดังนี้:

  1. คะแนนในทุกเกมที่แข่งขัน (สามแต้ม หากชนะ, หนึ่งแต้มหากเสมอ, และไม่ได้หากแพ้);
  2. ประตูได้เสียในทุกเกมที่แข่งขัน;
  3. จำนวนประตูได้ในทุกเกมที่แข่งขัน;
  4. คะแนนที่ได้จากการแข่งขันที่เล่นระหว่างทีมที่มีลำดับเท่ากัน;
  5. ประตูได้เสียที่ได้จากการแข่งขันที่เล่นระหว่างทีมที่มีลำดับเท่ากัน;
  6. ประตูได้จากการแข่งขันที่เล่นระหว่างทีมที่มีลำดับเท่ากัน;
  7. คะแนนความประพฤติในทุกเกมที่แข่งขัน (สามารถนำการหักเงินไปใช้กับผู้เล่นได้เพียงครั้งเดียวในนัดเดียว):
  8. จับสลาก

กลุ่มเอ



กลุ่มบี



กลุ่มซี



ตารางคะแนนอันดับที่สาม

รอบแพ้คัดออก

ในรอบแพ้คัดออก, จะแข่งขันกันในเวลาปกติ 90 นาที

  • ในรอบก่อนรองชนะเลิศ, หากเสมอกัน จะไม่มีการต่อเวลาพิเศษ, จะตัดสินด้วยการด้วยการดวลลูกโทษ เพื่อหาผู้ชนะทันที
  • ในรอบรองชนะเลิศ,นัดชิงอันดับที่สาม, นัดชิงชนะเลิศ, หากเสมอกันจะมีการต่อเวลาพิเสษ 30 นาที (โดยแบ่งเป็นครึ่งละ 15 นาที) โดยสามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นคนที่สี่ได้ แต่หากยังเสมอกันอยู่จะใช้การดวลลูกโทษตัดสินเพื่อหาผู้ชนะในที่สุด

สายการแข่งขัน

รอบก่อนรองชนะเลิศ




รอบรองชนะเลิศ


นัดชิงอันดับที่สาม

รอบชิงชนะเลิศ

สถิติ

ผู้ทำประตู

มีการทำประตู 60 ประตู จากการแข่งขัน 26 นัด เฉลี่ย 2.31 ประตูต่อนัด


การทำประตู 3 ครั้ง

การทำประตู 2 ครั้ง

การทำประตู 1 ครั้ง

การทำเข้าประตูตัวเอง 1 ครั้ง

ตารางการจัดอันดับหลังจบการแข่งขัน

ตามแบบแผนทางสถิติในฟุตบอล, การแข่งขันที่ตัดสินในช่วงต่อเวลาจะถูกนับเป็นชัยชนะและการแพ้ด้วยการดวลลูกโทษจะนับเป็นเสมอ

รางวัล

  • รางวัลผู้เล่นทรงคุณค่า: ดานีแยล อัลวิส
  • รางวัลดาวซัลโวสูงสุด: แอแวร์ตง (3 ประตู)
  • รางวัลผู้รักษาประตูยอดเยี่ยม: อาลีซง
  • รางวัลทีมแฟร์เพลย์:  บราซิล

ทีมยอดเยี่ยมประจำทัวร์นาเมนต์

การตลาด

ตัวนำโชค

ตัวนำโชค หรือ มาสคอตประจำการแข่งขันครั้งนี้คือ ซิซิโต โดยเป็นตัวแคพิบารา โดยชื่อนั้นตั้งตามชื่อของ ซิซิโต นักฟุตบอลชาวบราซิล ผู้ล่วงลับ ผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของโกปาอาเมริกาที่ 17 ประตู โดยเทียบเท่ากับ นอเบร์โต โดโรตีโอ เมนเดซ กองหน้าชาวอาร์เจนตินา

คำขวัญ

คำขวัญประจำการแข่งขันโกปาอาเมริกา 2019 คือ "Vibra el Continente/Vibra o Continente" (Rocking the Continent).

เพลงประจำการแข่งขัน

เพลงประจำการแข่งขัน คือ เพลง "วีบรา โกติเนนเต" โดย เลโอ ซันตานา และ กาโรล เค ศิลปินชาวบราซิลและชาวโคลอมเบีย ตามลำดับ

สิทธิการออกอากาศ

คอนเมบอล

คอนคาแคฟ

ทั่วโลก

ดูเพิ่ม

  • โกปาอาเมริกา

หมายเหตุ

อ้างอิง


Text submitted to CC-BY-SA license. Source: โกปาอาเมริกา 2019 by Wikipedia (Historical)


PEUGEOT 205